วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมปลูก

ตัวอย่างผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมปลูก

ผักสลัดที่ปลูกด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์

ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ Hydroponics

ชื่อไทย                   ผักสลัด
ชื่อสามัญ               LETTUCE
ชื่อวิทยาศาสตร์   Lactuca sativa var.crispa L

บัตเตอร์เฮด
บัตเตอร์เฮด (Butter Head)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ห่อหัว ใบมีสีเขียว กาบใบห่อเข้าหากันเป็นชั้นๆคล้ายดอกกุหลาบ

สรรพคุณทางยา: ช่วยบำรุงประสาท บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงเส้นผม บำรุงสายตา บำรุงผิว และช่วยลดคลอเรสตอรอล
กรีนโอ๊ค

กรีนโอ๊ค (Green Oak)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ใบสีเขียวอ่อนลักษณะปลายใบหยักโค้งมน ซ้อนกันเป็นชั้นๆ

สรรพคุณทางยา: ช่วยสร้างเม็ดเลือด บำรุงประสาท เส้นผม สายตาและกล้ามเนื้อ


เรดโอ๊ค

เรดโอ๊ค (Red Oak)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ใบสีเขียวคล้ำออกแดง ลักษณะปลายใบหยักโค้งมน ซ้อนกันเป็นชั้นๆ

สรรพคุณทางยา
: ช่วยสร้างเม็ดเลือด บำรุงประสาท บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตาและกล้ามเนื้อ มีธาตุเหล็กและโฟเลทสูง วิตามินซีสูงกว่าสีเขียว

กรีนคอส

กรีนคอส (Green Cos)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ลักษณะทรงสูง ใบสีเขียวเข้ม ห่อตั้งขึ้นซ้อนกันหลวมๆหลายชั้น ลำต้นโต ก้านใบใหญ่

สรรพคุณทางยา: ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งตัว

เรดคอรอล

เรดคอรอล (Red Coral)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ไม่ห่อหัว ใบมีสีแดงอมม่วง ปลายใบหยัก

สรรพคุณทางยา: ช่วยสร้างเม็ดเลือด ให้วิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ป้องกันโรคปากนกกระจอก
คะน้า
ผักคะน้า

ชื่อสามัญ: Chinese Kale
ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica alboglabra Bailey.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร : คะน้าเป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับกะหล่ำ ลำต้นอวบชุ่มน้ำ ใบมีสีเขียวเข้ม คะน้าที่นิยมปลูกมี 2 ประเภท คือ คะน้าใบ และคะน้ายอด

สรรพคุณทางยา: คะน้ามีสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ซึ่งร่างการจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอที่มีผลต่อการบำรุงสายตา เสริมสร้างสุขภาพผิวพรรณและต้านทานการติดเชื้อ คะน้าให้โฟเลทและธาตุเหล็กสูง ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น ผัดน้ำมันหอย ราดหน้ายอดผัก ลวกจิ้มน้ำพริก บริโภคทั้งแบบสดและดิบ

ผักบุ้งจีน ไฮโดรโปนิกส์
ผักบุ้งจีน
ชื่อสามัญ: Chinese convulvulus
ชื่อวิทยาศาสตร์: Impomoea aquatic Forsk.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ผักบุ้งจีนเป็นผักที่มีอายุสั้น ลำต้นมีสีเขียวอ่อนใบแคบเรียวยาว ลักษณะชูตั้ง ก้านสีเหลืองหรือขาว ก้านดอกและดอกสีขาว

สรรพคุณทางยา: ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่นิยมรับประทานกันมาก มีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบด้วยไวตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะไวตามิน เอ ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยบำรุงสายตา มีปริมาณสูงถึง 9,550 หน่วยสากลนอกจากนี้ยังมี แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัสและไวตามินซีเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย นิยมนำมาลวกและราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลาบก้อยยำ และนำยอดอ่อนและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดจืดใส่หมูปลาไก่ หรือผัดกับน้ำพริก และหมูนอกจากนี้ยังนำไปแกง เช่น แกงส้มแกงคั่วเป็นต้น นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดอง และนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดอง หรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำพริก เป็นต้น
 
กวางตุ้ง
กวางตุ้ง

ชื่อสามัญ: Chinese Cabbage-PAI TSAI
ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica.camprestris L. chinensis (Lour.)Rupr.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ผักกวางตุ้งอยู่ในผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด ก้านใบใหญ่อวบน้ำ กรอบ ส่วนใบมีขนาดใหญ่สีเขียว กวางตุ้งมี2พันธุ์ คือ พันธุ์สีขาวและพันธุ์สีเขียว

สรรพคุณทางยา
: มีวิตามินซี เบตาแคโรทีนช่วยในการบำรุงสายตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และเชื่อว่าผักกวางตุ้งมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดข้อช่วยลดการเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งโรคกล้ามเนื้อเสื่อม และโรคเลือดหัวใจตีบ นิยมนำมาปรุงเป็นแกงจืด ต้มจับฉ่ายหรือนำไปผัด ซึ่งไม่ควรตั้งไฟนานเพราะความร้อนทำลาย วิตามินในผัก โดยเฉพาะวิตามินซี แต่เบตาแคโรทีนนั้นทนร้อนมากกว่า หากให้โดนความร้อนแค่ 1-2 นาทีจะมีเบตาแคโรทีนสูงกว่าครึ่งพอที่ร่างกายนำไปใช้บำรุงสุขภาพดวงตาและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ผักกวางตุ้งสามารถรับประทานสดได้แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว

ผักกาดขาวไดโตเกียว
ผักกาดขาวไดโตเกียว

ชื่อสามัญ: Chinese Cabbage-PAI TSAI
ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica rapa L. cv. group Chinese cabbage.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ผักกาดขาวเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสั้น ใบมีสีเขียวอ่อน กาบใบหรือก้านใบกว้าง แบน สีขาว กรอบมีน้ำมาก ผักกาดชนิดนี้ไม่ห่อหัว

สรรพคุณทางยา: มีฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซีค่อนข้างสูง มีกรดโฟลิคช่วยในกระบวนการสังเคราะห์สารพันธุกรรม DNA ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง ยังช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้พิษสุรา นิยมนำมาใส่ซุป ผัด แกงจืด จิ้มน้ำพริก ผักกาดดองหรือนำมาตกแต่งจานอาหาร

ผักกาดฮ่องเต้หรือกวางตุ้งฮ่องเต้

ผักกาดฮ่องเต้

ชื่อสามัญ: Pak Chai, Green Pakchoi
ชื่อวิทยาศาสตร์: Brassica Chinensis var. Chinensis Mansf.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ผักกาดฮ่องเต้เป็นพืชล้มลุก ก้านใบสีเขียวอ่อน ลักษณะแบน ส่วนโคนก้านใบจะขยายกว้างมาก และหนา เนื้อกรอบ ปลายใบมน ไม่ห่อหัว

สรรพคุณทางยา: ผักกาดฮ่องเต้ เป็นผักที่มีวิตามินสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิตามินเอ วิตามินซี นอกจากนั้นยังมีธาตุอาหารพวกแคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง นิยมนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ ผัดน้ำมันหอย หรือต้มเป็นแกงจืด รสชาติหวาน และกรอบ

ผักโขม
ผักโขม

ชื่อสามัญ: Spinach, Amaranth
ชื่อวิทยาศาสตร์: Amaranthus tricolor Linn.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ต้นเป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวลำต้นสีเขียว สูง 30 – 100 ซม. ลำต้นอวบน้ำสีเขียวอ่อนและสีเขียวปนแดง ใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนรอบต้น ใบขนาดใหญ่กว้างประมาณ 7 ซม. ยาวประมาณ 10 ซม. รูปไข่กว้าง ปลายใบมนโคนใบป้าน ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบหลังเป็นคลื่นเล็กน้อยดอกเป็นช่อยาวสีขาว ดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น เมล็ดขนาดเล็ก กลมสีดำ

สรรพคุณทางยา: รากเป็นยาแก้ตกเลือด แก้ฝี แก้ขี้กลาก เป็นยาขับน้ำนม แก้แน่นท้อง แก้พิษ แก้ช้ำใน แก้ไข้ ระงับความร้อน ใช้ในเด็กแก้ลิ้นเป็นฝ้าละออง เบื่ออาหาร อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี กรดอะมิโน และสารอาหารอื่นๆ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม และฟอสฟอรัสสูง เป็นผักบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อน และแม้ผักโขมจะเป็นผักใบเขียว แต่ก็มีเบต้าแคโรทีนสูง โดยมีสารลูทีนและสารเซอักแซนทิน ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารทั้งสองนี้มีสรรพคุณช่วยชะลอความเสื่อมของดวงตา ลดความเสี่ยงจากโรคดวงตาเสื่อมได้ถึงร้อยละ 43 ผักโขมยังสามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลาย ทั้งอาหารแบบไทยๆ อย่างแกงจืด แกงเลียง ผัดน้ำมัน หรือจะเป็นอาหารอิตาเลียนยอดฮิตอย่างผักโขมอบชีส ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูเด็ดของหลายๆ คนเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก bangsaiagro.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น