วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (1)

 การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hydroponics
โดย:ฝ่ายเทคโนโลยีชีวภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

เพาะเมล็ดผัก

การเพาะต้นกล้า

1. การเพาะในกระบะเพาะกล้า อุปกรณ์ปลูกประกอบด้วย
- กระบะเพาะเมล็ดที่ทำจากวัสดุต่างๆ เช่น ถ้วยเพาะถาดพลาสติกที่มีหลุมสำหรับเพาะแบบสำเร็จรูป
- วัสดุเพาะกล้าเพื่อเป็นที่สำหรับให้ต้นกล้าโต ที่นิยมใช้กันคือ เปอร์ไลท์

2. การเพาะกล้าในแผ่นฟองน้ำ โดยการเพาะเมล็ดลงบนแผ่นฟองน้ำที่มีสารละลายธาตุอาหารพืชอย่างเจือจาง

3. การเพาะกล้าในวัสดุปลูก โดยการเพาะเมล็ดลงวัสดุปลูกที่มีขนาดเล็ก เมื่อต้นกล้าโตแล้วก็ย้ายไปปลูกในวัสดุปลูก เช่น การเพาะกล้าในใยหิน (rock wool) โดยก่อนนำกล้าไปปลูกควรทำการปรับความพร้อมโดยการให้ได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้นทีละน้อยหรือ Hardening เสียก่อน

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปลูกพืชไร้ดิน

        อุปกรณ์สำหรับการปลูกพืชไร้ดินมีหลายชนิด แตกต่างกันไปตามลักษณะวิธีปลูกแบบต่างๆ ที่ผู้จะ
ทำการปลูกสามารถเลือกใช้ตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงราคาต่ำแต่มีคุณภาพดีและควรหาซื้อได้ในท้องถิ่น ปกติแล้วอุปกรณ์สำหรับการปลูกพืชไร้ดินมีดังต่อไปนี้
1. โรงเรือน
ต้องพิจารณาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม สิ่งที่ต้องคำนึงคือนอกจากต้องมีความแข็งแรงแล้วยังต้องตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชและป้องกันศัตรูพืชเข้ามารบกวนอีกด้วย นอกจากนี้การเลือกทำเลที่ตั้งโรงเรือนเป็นสิ่งที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ควรเป็นพื้นที่ที่มี
ศักยภาพในการผลิตคือสภาพพื้นที่ สภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ การคมนาคมสะดวก มีไฟฟ้าและแหล่งน้ำที่มีคุณภาพ เป็นต้น
2. ภาชนะ
ภาชนะที่ใช้ในการปลูก เช่น รางปลูก ควรเน้นวัสดุที่มีความเหมาะสมตามความประสงค์ของระบบปลูก อาจเป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น สารที่สังเคราะห์ เช่น แผ่นโลหะ พลาสติกในการเลือกใช้วัสดุให้คำนึงถึงความสะอาด ไม่ผุหรือถูกกัดกร่อนง่าย โดยเฉพาะจากสารละลายธาตุอาหารพืช มีความแข็งแรง ควรเป็นวัสดุที่มีราคาถูกที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นสะดวกในการติดตั้งและใช้งาน ทำความสะอาดง่าย และไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม
3. ปั๊ม
เป็นอุปกรณ์สำ คัญที่ก่อให้เกิดพลังงานในการก่อให้เกิดการไหลเวียนของสารละลายธาตุอาหารพืช และให้ออกซิเจนแก่รากพืช
4. ไฟฟ้า
เพื่อเป็นต้นกำลังของพลังงานที่ขาดไม่ได้ ดังนั้นถ้าไม่มีกระแสไฟฟ้าก็ต้องจัดหาต้นกำลังสำรองไว้
5. อุปกรณ์สำหรับการเตรียมและตรวจวัดสารละลาย เช่น เครื่องชั่ง ภาชนะใส่สารละลายเข้มข้น ปุ๋ยหรือธาตุอาหาร เครื่องมือตรวจวัดความเป็นกรดด่าง (pH meter) และวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC meter) เป็นต้น

โรงเรือนผักไฮโดรโปรนิกส์

6. วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

       6.1 ถังใส่สารละลายธาตุอาหารพืช จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่แตกต่างกันไปตามขนาดของการเก็บกักสารละลายธาตุอาหารพืชกับระบบที่ปลูกปกติแล้วระบบการปลูกแบบ Nutrient Film Technique (NFT)
ในยุโรป จะมีขนาดถังที่บรรจุสารละลายธาตุอาหารพืชทั้งหมดด้วยอัตราส่วนระหว่างปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชที่ใช้ในการปลูกตามรางปลูก 90% ต่อปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในถัง 10%
สำหรับในประเทศไทยเรามีอากาศร้อน อาจพิจารณาเพิ่มอัตราส่วนปริมาณสารละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในถัง (ที่มักฝังในดินหรืออยู่ในที่ร่มเพื่อลดอุณหภูมิของสารอาหาร) เพิ่มขึ้นเป็น 20-30% เพื่อ
เป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาอุณหภูมิและการลดลงของออกซิเจนในสารละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในถังก่อนหมุนเวียนขึ้นไปเลี้ยงต้นพืช แต่วิธีนี้เป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต

        6.2 ถุงมือ ใช้ในการเตรียม/รักษาหรือควบคุมค่าความเป็นกรดด่าง เพราะสารปรับความเป็นกรดด่าง
ที่กล่าวมาเป็นกรดที่ทำลาย ผิวหนังและเสื้อผ้าได้

        6.3 เครื่องชั่ง วัด ตวง ปริมาณปุ๋ยหรือสารอาหาร วัสดุผูกมัดหรือรองรับต้นพืช สำหรับพืชที่มีความสูง เช่น มะเขือเทศ และรากของพืชไม่สามารถยึดแน่นกับวัสดุปลูกเหมือนกับการปลูกบนพื้นดินทั่วไป จึงต้องมีวัสดุรองรับต้นพืช เพื่อเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ต้นพืชที่มีลำต้นสูง และให้ผลผลิตที่เป็นผลที่มีน้ำหนัก (เช่น มะเขือเทศ พริก แตง) สามารถทรงตัวอยู่ได้เช่น เชือก ลวด ไม้ค้ำ และอาจมีสิ่งผูกมัด (ที่ทำด้วยพลาสติก) ติดกับต้นพืชอีกด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น